Admin
  Home
  กำหนดการ
  ลงทะเบียน
  ผู้เข้าร่วม
  ลักษณะผลงานที่จะนำเสนอ
  บทความที่ผ่านการพิจารณา
  อัตราค่าลงทะเบียน
  โรงแรม,ที่พัก
  แผนที่
  Download




การประชุมวิชาการระดับชาติ “ลำปางวิจัย ครั้งที่ 3”
“บูรณาการนวัตกรรมและการวิจัยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
วันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง


********************************************************************* 

หลักการและเหตุผล   
          มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินงานครบรอบ 45 ปี ในปี พ.ศ. 2559 จากการยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2560 ครบรอบ 12 ปี ภายใต้พันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ส่งเสริมและสนับสนุน การผลิต ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และการบริการวิชาการ ของคณาจารย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดลำปาง มีการดำเนินการบูรณาการงานวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ ที่สอดคล้องความต้องการ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้คืนสู่ชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางจึงเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการวิจัยให้บริการวิชาการ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมพันธกิจด้านการวิจัยการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง
          จากโมเดล ประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลียนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้ โดยมีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประชาชนสามารถสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง ต้องมีการปฏิรูปทั้งโครงสร้างในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น ภาคธุรกิจ การเกษตร การศึกษา และแรงงาน จากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตโดยใช้แรงงาน เครื่องจักรและทรัพยากร เปลี่ยนมาเป็นการผลิตบนฐานความรู้และเทคโนโลยี  โดยมีการดึงสถาบันวิจัยระดับโลกเข้ามาตั้งในประเทศไทย และมีความ ร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน ให้มากขึ้นที่เรียกว่าประชารัฐ โดยมีเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายใน 3-5 ปี ในการสร้างโมเดล Thailand 4.0 ที่เป็น Value-based Economy นั้น ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยมีแนวการเปลี่ยนวิธีการทำงานที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง ซึ่งเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”  โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม  และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น (สุวิทย์ เมษอินทรี, ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่, ที่มา; http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223 )
          ดังนั้นงานวิจัยจึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนวิธีการที่สำคัญคือ การเปลี่ยนจากวิถีดั้งเดิมเป็นวิถีนวัตกรรม เนื่องจากงานวิจัยเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ในหลายๆศาสตร์ ในการพัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตทุกๆด้าน เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีพ การศึกษาและอีกหลายๆด้าน จากการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยแต่ละปีอย่างมากมายเพื่อการสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของมหาวิทยาลัยโดยการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยในด้านต่างๆ ให้กับชุมชนและร่วมกันพัฒนาจนเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษารวมทั้งพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้า พร้อมที่จะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในทุกๆด้าน
          เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา นักเรียน และชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยงานสร้างสรรค์และงานบริการวิชาการ รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยจึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ลำปางวิจัยครั้งที่ 3 “บูรณาการนวัตกรรมและการวิจัยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” (Innovation for Local Life) เพื่อเผยแพร่ผลงานและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงเป็นการพัฒนาศักยภาพและสร้างขวัญกำลังใจ ของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อการปรับสมดุลการพัฒนาใน 4 มิติไปพร้อมๆ กัน ทั้งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ ซึ่งจะทำให้ไทยราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลกได้อย่างทันท่วงที และสามารถนำพาประเทศไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนในที่สุด

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ งานบริการวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและนักเรียน ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ สู่สาธารณชนในระดับชาติ
  2. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
  3. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ การบริการวิชาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

อัตราค่าลงทะเบียนนำเสนอผลงาน (รวมค่าเอกสาร อาหารว่างและอาหารกลางวัน ในวันนำเสนอผลงาน)

  1. ค่าลงทะเบียนนำเสนอผลงาน 1,500 บาท
  2. สำหรับผู้เข้าร่วมรับฟัง/ร่วมงาน/ผู้สังเกตการณ์ในที่ประชุม ไม่เสียค่าลงทะเบียน

**หมายเหตุ : สำหรับผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย สามารถอัพโหลด บทความหลังจากลงทะเบียนในเมนู "ผู้เข้าร่วม"
                 : เปิดรับบทความ บัดนี้-15 พฤษภาคม 2560

ขยายเวลาการรับบทความ ถึง 25 พฤษภาคม 2560

   รายละเอียดเพิ่มเติม!!!

 
index